วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

                                                                             
                                                                         คำอธิบายรายวิชา
           กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   โรงเรียนกมลาไสย       
           ช่วงชั้นที่      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖๖   ภาคเรียนที่    ๑      ปีการศึกษา    ๒๕๕๕                                                    
           รายวิชา    สังคมศึกษา รหัสวิชา   ส ๔๓๑๐๑       เวลาเรียน    ชั่วโมง/สัปดาห์    
           เวลาเรียนเต็ม  ๔๐   ชั่วโมง/ภาคเรียน     จำนวน      หน่วยกิต


                   ศึกษาเกี่ยวกับ ความหมายประวัติศาสตร์ ลักษณะและข้อจำกัดของประวัติศาสตร์ การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์
                   ศึกษาเกี่ยวกับหลักฐานประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ รวมถึงวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีลำดับขั้นตอน ต่างๆได้แก่ การกำหนดข้อปัญหาและสมมติฐาน การรวบรวมข้อมูลหลักฐานประวัติศาสตร์ การประเมินค่าหลักฐาน การวิเคราะห์ ตีความหลักฐาน และการนำเสนอข้อมูล
                   ศึกษาอารยธรรมตะวันออก โดยเน้นการศึกษายุคสมัยและศิลปวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์อินเดีย อย่างสังเขป รวมทั้งใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์อินเดีย
                   ศึกษาประวัติศาสตร์ของอารยธรรมตะวันตก โดยศึกษาถึงยุคสมัยของอาณาจักรโบราณต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมตะวันตก เช่น เมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก โรมัน  ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยกลาง  การเดินเรือของชาติตะวันตก ยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ยุโรปสมัยปฏิวัติวิทยาศาตร์ และยุโรปสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลกระทบจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงสาเหตุในประวัติศาสตร์ ที่ทำให้ชาติตะวันตกมีความเจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

        1.   สามารถอธิบายความหมาย ลักษณะของประวัติศาสตร์
 2.  สามารถอธิบายข้อจำกัดในการศึกษาประวัติศาสตร์ และการจำแนกยุคสมัยทาง -
      ประวัติศาสตร์
 3.   สามารถอธิบายประเภทของหลักฐานประวัติศาสตร์
 4.   สามารถอธิบายขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
 5.   สามารถลำดับยุคสมัยและอธิบายศิลปวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์จีนอย่างสังเขป
 6.   สามารถนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์จีน
 7.   สามารถลำดับยุคสมัยและอธิบายศิลปวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์อินเดียอย่างสังเขป
 8.   สามารถนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อินเดีย
 9.   สามารถลำดับยุคสมัยและพัฒนาการของอาณาจักรโบราณที่สัมพันธ์กับอารยธรรมตะวันตก
      10.   สามารถลำดับเหตุการณ์และยุคสมัยต่างๆของประวัติศาสตร์ตะวันตกอย่างสังเขป
      11.   สามารถอธิบายพัฒนาการ การเดินเรือของชาติตะวันตกอย่างสังเขป
      12.   สามารถอธิบายถึงพัฒนาการของประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่อย่างสังเขป


สาระที่ ๔  ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส ๔.๑    เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๔-๖
๑. ตระหนักถึงความสำคัญของเวลาและ   ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ
w   เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล
w    ตัวอย่างเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ที่มีปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์            (เชื่อมโยงกับ มฐ. ส ๔.๓)
w   ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

๒. สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ
w   ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยนำเสนอตัวอย่างทีละขั้นตอนอย่างชัดเจน
w    คุณค่าและประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อการศึกษาทางประวัติศาสตร์
w    ผลการศึกษาหรือโครงงานทางประวัติศาสตร์



มาตรฐาน ส ๔.๒   เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และ การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น


ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๔-๖
๑.วิเคราะห์อิทธิพลของอารยธรรรมโบราณ 
และการติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลก
w  อารยธรรมของโลกยุคโบราณ ได้แก่     อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ไนล์ ฮวงโห สินธุ และอารยธรรมกรีก-โรมัน
w  การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก และอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีต่อกันและกัน
w  เหตุการณ์สำคัญต่างๆที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เช่นระบอบฟิวดัส  การฟื้นฟู ศิลปะวิทยาการสงคราม ครูเสด  การสำรวจทางทะเล    การปฏิรูปศาสนา





ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๔-๖

๑.วิเคราะห์อิทธิพลของอารยธรรรมโบราณ  และการติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลก
    การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม  
     จักรวรรดินิยม  ลัทธิชาตินิยม เป็นต้น
w  ความร่วมมือ และความขัดแย้งของมนุษยชาติในโลก 
w  สถานการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ เช่น
          - เหตุการณ์ ๑๑ กันยายน ๒๐๐๑ (Nine Eleven )
- การขาดแคลนทรัพยากร
- การก่อการร้าย          
         - ความขัดแย้งทางศาสนา      ฯลฯ
w  อารยธรรมของโลกยุคโบราณ ได้แก่     อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ไนล์ ฮวงโห สินธุ และอารยธรรม    กรีก-โรมัน
w  การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก และอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีต่อกันและกัน
w  เหตุการณ์สำคัญต่างๆที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เช่นระบอบฟิวดัส  การฟื้นฟู ศิลปวิทยาการสงครามครูเสด  การสำรวจทางทะเล    การปฏิรูปศาสนา การปฏิวัติทาง
๒. วิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญต่างๆที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เข้าสู่โลกสมัยปัจจุบัน

๓. วิเคราะห์ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปไปยังทวีปอเมริกา  แอฟริกา และเอเชีย
๔. วิเคราะห์สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑







สาระที่ ๔  ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส ๔.๓     เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก  ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๔-๖
๑.วิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย
w   ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย เช่น แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของชาติไทย อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย  และอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย  ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรไทยในช่วงเวลาต่างๆ  สาเหตุและ
ผลของการปฏิรูป  ฯลฯ





ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๔-๖
๒. วิเคราะห์ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
w   บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการพัฒนาชาติไทยในด้านต่างๆ เช่น การป้องกันและรักษาเอกราชของชาติ  การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
w   อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก และตะวันออกที่มีต่อสังคมไทย
w   ผลงานของบุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่มีส่วนสร้างสรรค์ วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย
w   ปัจจัยที่ส่งเสริมความสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีผลต่อสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
๓. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมความสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีผลต่อสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
๔. วิเคราะห์ผลงานของบุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย

๕. วางแผนกำหนดแนวทางและการมีส่วนร่วมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย
w   สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
w   วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยต่างๆ
w   การสืบทอดและเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทย
w   แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยและ     การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
w   วิธีการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย



อัตราส่วนคะแนน  80:20

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น