วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศักราชและการเทียบศักราชสากล

ศักราชและการเทียบศักราชสากล

ศักราช คือ อายุของเวลาที่ตั้งขึ้น  เริ่มตั้งแต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ  ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พุทธศักราช  คริสต์ศักราช  มหาศักราช จุลศักราช และรัตนโกสินทร์ศก

         1. พุทธศักราช ( พ.ศ. ) เป็นศักราชที่ใช้ในหมู่พุทธศาสนิกชน เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดพุทธศักราช คือ การเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  ขณะมีพระชนมายุ  80  พรรษา  พุทธศักราชนับปีหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วเป็น  พ.ศ. 1  การบอกปีก่อน พ.ศ. ใช้คำว่า ก่อนพุทธศักราช พระพุทธเจ้าตรัสรู้เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช

                   ประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประกาศใช้ศักราชเป็นทางราชการ   สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี  เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น วันที่ 1  มกราคม พ.ศ. ตามแบบสากล

        2. คริสต์ศักราช  ( ค.ศ. )  เป็นศักราชของผู้นับถือศาสนาคริสต์ แต่ปัจจุบันนิยมใช้กันทั่วโลก ตั้งขึ้นในสมัยโรมัน เริ่มนับ ค.ศ.1 ตั้งแต่ปีที่ประสูติของพระเยซู  ศักราชนี้ขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นปีวันที่ 31  ธันวาคม ทุกปี

                   เปรียบเทียบ   ค.ศ.1  ตรงกับ  พ.ศ.544  คริสต์ศักราชจึงน้อยกว่า พุทธศักราช 544 – 1 = 543 ปี ใช้จำนวน  543 เป็นเกณฑ์บวกลบเทียบศักราช 2 ระบบนี้

        3. มหาศักราช ( ม.ศ. ) ผู้ตั้งคือ พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะของอินเดีย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 622  เนื่องในวาระที่ทรงขึ้นเสวยราชย์  มหาศักราชน้อยกว่าพุทธศักราช 622 – 1 = 621 ปี ใช้จำนวน 621 เป็นเกณฑ์เทียบศักราช

       4. จุลศักราช ( จ.ศ. ) ตั้งขึ้นในพม่าเมื่อ พ.ศ.1182 โดยพระเจ้าโพพาสอระหันในโอกาสที่ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์พุกาม

       5. รัตนโกสินทรศก ( ร.ศ. ) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำริจัดตั้งขึ้น โดยให้นับปีที่สถาปนา                      กรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ.2325 เป็น ร.ศ.1  ใน พ.ศ.2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เลิกใช้ ร.ศ. และให้ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชของทางราชการ

       6. ฮิจเราะห์ศักราช ( ฮ.ศ. ) เป็นศักราชของมุสลิม คำว่า ฮิจเราะห์ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ ที่ศักราชได้ชื่อเช่นนี้เพราะถือเอาเหตุการณ์ที่นบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลามอพยพพวกมุสลิมออกจากนครเมกกะไปยังเมืองมาดีนะฮ์เป็นจุดตั้งต้นศักราช   เดือนในฮิจเราะห์ศักราชเป็นเดือนทางจันทรคติ เดือนหนึ่งมี 29 – 30 วัน ปีของฮิจเราะห์ศักราชจึงมีวันเพียงประมาณ 354 วัน

การเทียบศักราช

พุทธศักราชมากกว่าคริสต์ศักราช 543 ปี
เมื่อจะเปลี่ยน ค.ศ. เป็น พ.ศ. ให้เอา 543 บวก ถ้าจะเปลี่ยน พ.ศ. เป็น ค.ศ. ให้เอา 543 ลบ
พุทธศักราชมากกว่ารัตนโกสินทร์ศก 2324 ปี
เมื่อจะเปลี่ยน ร.ศ. เป็น พ.ศ. ให้เอา 2324 บวก ถ้าจะเปลี่ยน พ.ศ. เป็น ร.ศ. ให้เอา 2324 ลบ
พุทธศักราชมากกว่าจุลศักราช 1181 ปี
เมื่อจะเปลี่ยน จ.ศ.เป็น พ.ศ. ให้เอา1181 บวก ถ้าจะเปลี่ยน พ.ศ. เป็น จ.ศ. ให้เอา 1181 ลบ
                                                                             
                                                                         คำอธิบายรายวิชา
           กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   โรงเรียนกมลาไสย       
           ช่วงชั้นที่      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖๖   ภาคเรียนที่    ๑      ปีการศึกษา    ๒๕๕๕                                                    
           รายวิชา    สังคมศึกษา รหัสวิชา   ส ๔๓๑๐๑       เวลาเรียน    ชั่วโมง/สัปดาห์    
           เวลาเรียนเต็ม  ๔๐   ชั่วโมง/ภาคเรียน     จำนวน      หน่วยกิต


                   ศึกษาเกี่ยวกับ ความหมายประวัติศาสตร์ ลักษณะและข้อจำกัดของประวัติศาสตร์ การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์
                   ศึกษาเกี่ยวกับหลักฐานประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ รวมถึงวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีลำดับขั้นตอน ต่างๆได้แก่ การกำหนดข้อปัญหาและสมมติฐาน การรวบรวมข้อมูลหลักฐานประวัติศาสตร์ การประเมินค่าหลักฐาน การวิเคราะห์ ตีความหลักฐาน และการนำเสนอข้อมูล
                   ศึกษาอารยธรรมตะวันออก โดยเน้นการศึกษายุคสมัยและศิลปวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์อินเดีย อย่างสังเขป รวมทั้งใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์อินเดีย
                   ศึกษาประวัติศาสตร์ของอารยธรรมตะวันตก โดยศึกษาถึงยุคสมัยของอาณาจักรโบราณต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมตะวันตก เช่น เมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก โรมัน  ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยกลาง  การเดินเรือของชาติตะวันตก ยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ยุโรปสมัยปฏิวัติวิทยาศาตร์ และยุโรปสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลกระทบจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงสาเหตุในประวัติศาสตร์ ที่ทำให้ชาติตะวันตกมีความเจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

        1.   สามารถอธิบายความหมาย ลักษณะของประวัติศาสตร์
 2.  สามารถอธิบายข้อจำกัดในการศึกษาประวัติศาสตร์ และการจำแนกยุคสมัยทาง -
      ประวัติศาสตร์
 3.   สามารถอธิบายประเภทของหลักฐานประวัติศาสตร์
 4.   สามารถอธิบายขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
 5.   สามารถลำดับยุคสมัยและอธิบายศิลปวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์จีนอย่างสังเขป
 6.   สามารถนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์จีน
 7.   สามารถลำดับยุคสมัยและอธิบายศิลปวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์อินเดียอย่างสังเขป
 8.   สามารถนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อินเดีย
 9.   สามารถลำดับยุคสมัยและพัฒนาการของอาณาจักรโบราณที่สัมพันธ์กับอารยธรรมตะวันตก
      10.   สามารถลำดับเหตุการณ์และยุคสมัยต่างๆของประวัติศาสตร์ตะวันตกอย่างสังเขป
      11.   สามารถอธิบายพัฒนาการ การเดินเรือของชาติตะวันตกอย่างสังเขป
      12.   สามารถอธิบายถึงพัฒนาการของประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่อย่างสังเขป


สาระที่ ๔  ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส ๔.๑    เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๔-๖
๑. ตระหนักถึงความสำคัญของเวลาและ   ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ
w   เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล
w    ตัวอย่างเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ที่มีปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์            (เชื่อมโยงกับ มฐ. ส ๔.๓)
w   ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

๒. สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ
w   ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยนำเสนอตัวอย่างทีละขั้นตอนอย่างชัดเจน
w    คุณค่าและประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อการศึกษาทางประวัติศาสตร์
w    ผลการศึกษาหรือโครงงานทางประวัติศาสตร์



มาตรฐาน ส ๔.๒   เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และ การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น


ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๔-๖
๑.วิเคราะห์อิทธิพลของอารยธรรรมโบราณ 
และการติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลก
w  อารยธรรมของโลกยุคโบราณ ได้แก่     อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ไนล์ ฮวงโห สินธุ และอารยธรรมกรีก-โรมัน
w  การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก และอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีต่อกันและกัน
w  เหตุการณ์สำคัญต่างๆที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เช่นระบอบฟิวดัส  การฟื้นฟู ศิลปะวิทยาการสงคราม ครูเสด  การสำรวจทางทะเล    การปฏิรูปศาสนา





ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๔-๖

๑.วิเคราะห์อิทธิพลของอารยธรรรมโบราณ  และการติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลก
    การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม  
     จักรวรรดินิยม  ลัทธิชาตินิยม เป็นต้น
w  ความร่วมมือ และความขัดแย้งของมนุษยชาติในโลก 
w  สถานการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ เช่น
          - เหตุการณ์ ๑๑ กันยายน ๒๐๐๑ (Nine Eleven )
- การขาดแคลนทรัพยากร
- การก่อการร้าย          
         - ความขัดแย้งทางศาสนา      ฯลฯ
w  อารยธรรมของโลกยุคโบราณ ได้แก่     อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ไนล์ ฮวงโห สินธุ และอารยธรรม    กรีก-โรมัน
w  การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก และอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีต่อกันและกัน
w  เหตุการณ์สำคัญต่างๆที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เช่นระบอบฟิวดัส  การฟื้นฟู ศิลปวิทยาการสงครามครูเสด  การสำรวจทางทะเล    การปฏิรูปศาสนา การปฏิวัติทาง
๒. วิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญต่างๆที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เข้าสู่โลกสมัยปัจจุบัน

๓. วิเคราะห์ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปไปยังทวีปอเมริกา  แอฟริกา และเอเชีย
๔. วิเคราะห์สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑







สาระที่ ๔  ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส ๔.๓     เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก  ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๔-๖
๑.วิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย
w   ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย เช่น แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของชาติไทย อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย  และอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย  ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรไทยในช่วงเวลาต่างๆ  สาเหตุและ
ผลของการปฏิรูป  ฯลฯ





ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๔-๖
๒. วิเคราะห์ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
w   บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการพัฒนาชาติไทยในด้านต่างๆ เช่น การป้องกันและรักษาเอกราชของชาติ  การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
w   อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก และตะวันออกที่มีต่อสังคมไทย
w   ผลงานของบุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่มีส่วนสร้างสรรค์ วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย
w   ปัจจัยที่ส่งเสริมความสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีผลต่อสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
๓. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมความสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีผลต่อสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
๔. วิเคราะห์ผลงานของบุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย

๕. วางแผนกำหนดแนวทางและการมีส่วนร่วมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย
w   สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
w   วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยต่างๆ
w   การสืบทอดและเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทย
w   แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยและ     การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
w   วิธีการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย



อัตราส่วนคะแนน  80:20